เป็นข่าว

ข่าวล่ามาเร็ว
รูปร่างที่ดิน เลือกซื้อที่ดินแบบไหนดี

รูปร่างที่ดิน เลือกซื้อที่ดินแบบไหนดี

รูปร่างที่ดิน คงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ผู้คนให้ความสำคัญเมื่อจะเลือกซื้อที่ดินเพื่อปลูกสร้างบ้านสักหลัง ต้องยอมรับว่าความเชื่อเรื่องหลักฮวงจุ้ยมีอิทธิพลไม่น้อย โดยรูปร่างหรือลักษณะที่ดินแต่ละแบบก็ส่งผลต่อการตัดสินใจต่างกัน ไม่ว่าจะพิจารณาในแง่ของการก่อสร้างและขายต่อ หรือตามหลักฮวงจุ้ยก็ตาม

ลองมาดูว่ารูปร่างที่ดินแบบไหนที่ดีและแบบไหนที่ไม่ดีบ้าง ที่ดินลักษณะท้องมังกรนั้นเป็นอย่างไร เหมาะแก่การนำมาปลูกสร้างที่อยู่อาศัยหรือไม่ มาหาคำตอบกันได้ที่นี่

รูปร่างที่ดินเปรียบเทียบหลักฮวงจุ้ยกับการก่อสร้างบ้าน

เมื่อว่าด้วยการซื้อบ้านแล้ว รูปร่างที่ดิน คงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หลายคนให้ความสำคัญไม่น้อย เพราะส่งผลต่อการใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัย โดยผลกระทบดังกล่าวก็มีทั้งผลกระทบในแง่หลักการก่อสร้างบ้านหรือขายที่ดินต่อและอิงตามหลักความเชื่อ ‘สายมู’ หรือ ‘หลักฮวงจุ้ย’

แน่นอนว่าทั้งสองศาสตร์ต่างมีคำอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างที่ดินแตกต่างกันไป บทความนี้จึงได้รวบรวมคำอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างที่ดิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเปรียบเทียบและตัดสินใจเมื่อต้องซื้อบ้านที่มีลักษณะที่ดิน ดังนี้

รูปร่างที่ดินเปรียบเทียบหลักฮวงจุ้ยกับการก่อสร้างบ้าน

เมื่อว่าด้วยการซื้อบ้านแล้ว รูปร่างที่ดิน คงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่หลายคนให้ความสำคัญไม่น้อย เพราะส่งผลต่อการใช้ชีวิตผู้อยู่อาศัย โดยผลกระทบดังกล่าวก็มีทั้งผลกระทบในแง่หลักการก่อสร้างบ้านหรือขายที่ดินต่อและอิงตามหลักความเชื่อ ‘สายมู’ หรือ ‘หลักฮวงจุ้ย’

แน่นอนว่าทั้งสองศาสตร์ต่างมีคำอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างที่ดินแตกต่างกันไป บทความนี้จึงได้รวบรวมคำอธิบายเกี่ยวกับรูปร่างที่ดิน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเปรียบเทียบและตัดสินใจเมื่อต้องซื้อบ้านที่มีลักษณะที่ดิน ดังนี้

รูปร่างที่ดินแบบไหน ผิดหลักฮวงจุ้ย

รูปร่างที่ดินแบบไหน ผิดหลักฮวงจุ้ย

รูปร่างที่ดินที่มักไม่แนะนำให้ซื้อเนื่องจากส่งผลร้ายต่อผู้อยู่อาศัย มีดังนี้

1. รูปร่างที่ดินกงจักรหรือล้อเฟือง

รูปร่างที่ดินแบบนี้ถือเป็นที่ดินต้องห้ามตามหลักฮวงจุ้ย เพราะเจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัยเสี่ยงหรือมีเหตุทำให้เสียเงินได้ รวมทั้งขัดสนทางการเงินอยู่เสมอ

2. รูปร่างที่ดินสี่เหลี่ยมคางหมู

รูปร่างที่ดินสี่เหลี่ยมคางหมูเป็นพื้นที่สี่เหลี่ยมที่ไม่มีความสมมาตร ขาดความสมดุลและพอดี อาจก่อให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งในเรื่องการงาน การเงิน ความสัมพันธ์ และสุขภาพ ที่สำคัญ อาจทำให้ขัดสนเรื่องเงินทองบ่อยครั้ง

3. รูปร่างที่ดินกระแทะ/รถเข็น

ที่ดินลักษณะนี้จะมีรูปร่างคล้ายเกวียนหรือรถเข็น กล่าวคือ ที่ดินเป็นสี่เหลี่ยม โดยที่ด้านใดด้านหนึ่งคอดเข้าหากันและยื่นออกมาข้างหน้า คล้ายกับเพลารถ สื่อถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิต หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นติดคุกหรือมีประเด็นทางกฎหมาย เพราะรูปร่างเกวียนหรือกระแทะคือตัวแทนของการเดินทางไม่หยุด เหมือนเจ้าของบ้านที่ต้องวิ่งเต้นทำเรื่องต่าง ๆ ไม่เคยได้หยุดพัก

4. รูปร่างที่ดินกลองบัณเฑาะว์

ที่ดินแบบนี้มีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยม แต่ตรงกลางที่ดินบีบคอดเข้าหากันทั้งสองด้าน จะก่อให้เกิดพลังด้านลบ หากมีเรื่องต้องฟ้องร้องหรือขึ้นศาล มีโอกาสแพ้คดีความได้สูง

5. รูปร่างที่ดินหลังเต่า

รูปร่างที่ดินลักษณะนี้จะนำพาความร้อนอกร้อนใจเข้ามาหาเจ้าของบ้านหรือผู้อยู่อาศัย อาจเสี่ยงติดคุก ประสบอุบัติเหตุที่อันตรายถึงชีวิต หรือถูกฆาตกรรมได้

ลักษณะที่ดินท้องมังกร เป็นอย่างไร

เชื่อว่าสายมูหรือคนที่มองหาทำเลที่ดินสร้างบ้านนั้นต้องเคยได้ยินคำว่า ที่ดินท้องมังกร กันมาพอสมควร จริงอยู่ว่านี่อาจเกี่ยวเนื่องกับเรื่องความเชื่อมาตั้งแต่ต้น แต่ก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจไม่น้อยเมื่อต้องเลือกซื้อบ้านหรือซื้อที่ดิน

อันที่จริงแล้ว ที่ดินท้องมังกร คือ ที่ดินที่มีรูปร่างคล้ายตัว U โดยพื้นที่ทั้งสองด้านลากขนานคู่กัน จุดที่บรรจบกันมีลักษณะโค้งเหมือนคุ้งน้ำหรือทางถนนที่โอบล้อมเข้าหากัน หากว่ากันตามหลักความเชื่อฮวงจุ้ย ถือว่าเป็นทำเลทอง เพราะได้รับพลังมาเกื้อหนุนเต็มที่

แต่หากมองว่าเเป็นกุศโลบายแล้วนั้นก็มีเหตุผลอีกเช่นกัน เดิมทีคนสมัยก่อนมักเลือกเพาะปลูกหรือทำการเกษตรบนที่ดินที่มีลักษณะเช่นนี้ เพราะเป็นแหล่งที่กระแสน้ำชะลอตัวและพัดเอาปุ๋ยจากธรรมชาติมารวมสะสมกันไว้ อุ้มน้ำทำให้ดินชุ่มชื้นตลอดเวลา เหมาะแก่การปลูกพืชผล นี่เองจึงยิ่งเสริมย้ำแนวคิดที่่ว่าที่ดินท้องมังกรคือพื้นที่อุดมสมบูรณ์

หากสร้างบ้านบนที่ดินท้องมังกร ข้อดีคือ มีทางเข้า-ออกบ้านได้หลายเส้นทาง จากการที่ทำเลโอบล้อมด้วยถนนหรือแม่น้ำ เหมาะสำหรับการค้าขาย หรือประกอบธุรกิจ

อย่างไรก็ตาม รูปร่างที่ดินเป็นเพี่ยงปัจจัยหนึ่งที่ช่วยเสริมความมั่นใจในการเลือกซื้อที่ดินหรือซื้อบ้าน ยังมีปัจจัยสำคัญอีกหลายอย่างที่เราต้องคำนึงถึงหากจะซื้อบ้านสักหลัง ทั้งในแง่ของความชอบ งบประมาณ และการต่อยอดในอนาคต

ขอบคุณแหล่งที่มาจาก : https://www.ddproperty.com/

Author: