เป็นข่าว

ข่าวล่ามาเร็ว
ต้นไม้ 58 ชนิด ที่สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ขอสินเชื่อได้

ต้นไม้ 58 ชนิด ที่สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ขอสินเชื่อได้

กระทรวงพาณิชย์พิจารณาแล้วเห็นว่า การนำไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าสูงมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจสามารถกระทำได้ โดยการออกเป็นกฎกระทรวงรองรับ ตามมาตรา 8 (6) แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ที่บัญญัติให้หลักประกันได้แก่ ทรัพย์สินอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ให้ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า สามารถนำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้ ซึ่งจะช่วยให้เอสเอ็มอีไทยเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายมากยิ่งขึ้นอีกด้วย

จากเดิมกำหนดให้ทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจได้มี

1. กิจการ

2. สิทธิเรียกร้อง เช่น สัญญาเช่า บัญชีเงินฝากธนาคาร ลูกหนี้การค้า เป็นต้น

3. สังหาริมทรัพย์ที่ผู้ให้หลักประกันใช้ในการประกอบธุรกิจ เช่น เครื่องจักร สินค้าคงคลัง หรือวัตถุดิบ เป็นต้น

4. อสังหาริมทรัพย์ในกรณีที่ผู้ให้หลักประกันประกอบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์โดยตรง เช่น ที่ดินจัดสรร หมู่บ้านจัดสรร เป็นต้น

5. ทรัพย์สินทางปัญญา เช่น เครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ เป็นต้น และล่าสุด

6. ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ

สำหรับต้นไม้ตามบัญชีท้ายกฎหมายว่าด้วยสวนป่า แบ่งออกเป็น 4 กลุ่มได้แก่

กลุ่มที่ 1 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ กลุ่มนี้จะมีมูลค่าต่ำ เช่น ยูคาลิปตัส สัตตบรรณ กระถินเทพา กระถินณรงค์ ฯลฯ

กลุ่มที่ 2 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง เช่น ประดู่ ยางนา กระบาก สะตอ ฯลฯ

กลุ่มที่ 3 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูง ได้แก่ สัก ฯลฯ

กลุ่มที่ 4 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก เช่น พะยูง ชิงชัน จันทน์หอม มะค่าโมง ฯลฯ เป็นต้น

โดยรายชื่อไม้ยืนต้นที่สามารถนำมาใช้เป็นหลักประกันธุรกิจได้ มีทั้งหมด 58 ชนิด ประกอบด้วย

ธ.ก.ส. ร่วมกับกรมป่าไม้ สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้อธิบายขอบเขตกำหนดขั้นตอนและหลักกา ในการประเมินราคาต้นไม้ที่กำหนดไว้เพื่อใช้ในการประเมินมูลค่าต้นไม้เพื่อใช้เป็นหลักทรัพย์เบื้องต้นดังนี้

เกณฑ์การประเมินราคาต้นไม้

– ต้องเป็นต้นไม้อายุ 1 ปีขึ้นไป

– มีลำต้นตรง 2 เมตรขึ้นไป

– ต้องเป็นต้นไม้ที่ปลูกในที่ดินตนเอง

– การวัดมูลค่าจะต้องมีกรรมการและสมาชิกธนาคาร อย่างน้อย 3 คนร่วมประเมินมูลค่า

– ต้นไม้เป็นรายต้นที่ความสูง 1.30 เมตร

– มีเส้นรอบวงต้น ไม่ต่ำกว่า 3 เซนติเมตร และเปรียบเทียบเส้นรอบวงที่วัดได้กับตารางปริมาณและราคาเนื้อไม้ ที่แบ่งเป็น 4 กลุ่ม เพื่อหามูลค่าต้นไม้ และจะปล่อยกู้ให้ 50% ของราคาประเมินต้นไม้ชนิดนั้นๆ

แต่ในสภาพความเป็นจริงนั้น การวัดความสูงของต้นไม้ โดยต้นไม้มักมีการยืนต้นตามลักษณะโครงสร้างของต้นไม้ เช่น อาจมีการ แตกกิ่งแยกเป็นสองกิ่งใหญ่ ลําต้นเอียง ลําต้นขนานกับพื้น มีพูพอน เป็นต้น รวมทั้งพื้นที่มีความ แตกต่างกันตามสภาพภูมิประเทศ เช่น พื้นที่ที่มีความลาดเอียงหรือลาดชัน เหล่านี้มักเกิดการสับสน ว่าจะดําเนินการวัดตรงจุดใดจึงจะถูกต้อง เพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและเป็นที่นิยมโดยทั่วไปจึง ขอนําเสนอวิธีการกําหนดตําแหน่งในการวัดหรือจุดวัดพอสังเขป ดังภาพ

ขนาดความโตของต้นไม้

ขั้นตอนการดําเนินงาน

▪ ใช้ไม้ยาว 1.30 เมตร วางเทียบกับต้นไม้เพื่อให้ได้ระดับความสูงเพียงอก

▪ ใช้สายวัดวัดขนาดเส้นรอบวงเพียงอก (GBH) หน่วยเป็น เซนติเมตร (cm.)

ค่าของขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางเพียงอก (DBH) คํานวนได้จากการนําค่าเส้นรอบวงเพียงอก
(GBH) หารด้วยค่าพาย (Pi, π) คือ 22/7 หรือ 3.14

DBH = GBH / π หน่วยเป็นเซนติเมตร (CM.)

ตัวอย่างการคำนวณ

ไม้พะยูง เป็นไม้กลุ่ม 4 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก

ไม้พะยูงวัดความสูง 1.3 เมตร วัดเส้นรอบวงได้ 44 เซนติเมตร เมื่อเทียบดูสูตรจากตารางจะเห็นว่าไม่มีค่า 44 เมตร จะใช้ค่าเส้นรอบวงที่ 42.21 แทน เพราะหากข้ามไปใช้ 45.29 เซนติเมตรก็ถือว่าทุจริต

ตามภาพ ไม้พะยูงวัดความสูง 1.3 เมตร วัดเส้นรอบวงได้ 44 เซนติเมตร เมื่อเทียบดูสูตรจากตารางจะเห็นว่าไม่มีค่า 44 เมตร จะใช้ค่าเส้นรอบวงที่ 42.21 แทน เพราะหากข้ามไปใช้ 45.29 เซนติเมตรก็ถือว่าทุจริต

ตัวอย่าง ที่ดินที่นำมาจดจำนองขอสินเชื่อ

• หากที่ดินที่นำมาจดจำนองขอสินเชื่อ มีราคาประเมิน 500,000 บาท

• ปกติกู้ได้ร้อยละ 50 ของราคาประเมิน หรือ 250,000 บาท

แต่หากผู้กู้มีต้นไม้ ซึ่งมีมูลค่าตามการประเมินมูลค่าต้นไม้รวมทั้งสิ้น 300,000 บาท ก็จะใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ร้อยละ 50 หรือ 150,000 บาท

• ดังนั้น ผู้กู้รายนี้จะมีหลักทรัพย์ค้ำประกันทั้งสิ้น 650,000 บาท (ราคาประเมินที่ดิน 500,000 + มูลค่าหลักทรัพย์ค้ำประกันที่เป็นต้นไม้ 150,000)

และจะสามารถได้วงเงินกู้ 325,000 บาท หรือร้อยละ 50 ของ 650,000 บาท ซึ่งหมายความว่าได้เพิ่มจากราคาประเมินที่ดินเปล่า 75,000 บาทเป็นต้น

การประเมินราคาต้นไม้ตรงนี้ เพื่อนำมาค้ำประกันเงินกู้(สินเชื่อ) จากเดิมเขาไม่ได้นำมาคิดเป็นราคาหลักทรัพย์หรือมีวิธีประเมินแบบนี้มาก่อน วิธีการนี้เป็นเรื่องใหม่ จะทำให้หลักทรัพย์มีราคาเพิ่มขึ้น ส่วนที่ว่าเป็นการประเมินให้ราคาน้อยเกินไป ตรงนี้ก็จะเป็นข้อมูลให้กับผู้เกี่ยวข้องนำไปปรับให้เหมาะสมต่อไป แต่อยากให้มองมุมวัตถุประสงค์หลักในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว 9 ข้อดังต่อไปนี้

1) เพื่อให้ประชาชนทุกคนทั้งที่เป็นหนี้และไม่เป็นหนี้ สามารถปลูกต้นไม้แล้วได้ประโยชน์จากรัฐ เหมือนกัน

2) สร้างรูปแบบผสมผสานกระบวนการส่งเสริมตามพฤติกรรมสังคมไทยที่ยอมรับผู้นํา ผู้มีอํา นาจ ผู้มีความมั่งคั่ง ผู้มีความดีงาม โดยให้กลุ่มคนเหล่านี้ที่ไม่ได้เป็นหนี้ เป็นผู้นํา ในการปลูกต้นไม้

3) เพื่อประเมินค่าต้นไม้เป็นทรัพย์ขณะมีชีวิตเป็นทรัพย์เชิงซ้อนของที่ดิน ซึ่งเป็นการสร้างค่าให้แก่ต้นไม้ตั้งแต่เริ่มปลูก และฝากไว้ในบัญชีธนาคารเป็นตัวเลขของมูลค่าต้นไม้โดย ช่วงเริ่มต้นให้คิดตามราคาทุนที่รัฐลงทุนและเป็นต้นทุนการเติบโต จากนั้นให้ประเมินตามมูลค่าราคาจริง โดยมีเงื่อนไขต้องรวมกลุ่มเป็นองค์กรธนาคารต้นไม้ระดับต่างๆ

4) ประชาชนปลูกต้นไม้เพื่อความมั่นคงของตน เพื่อตกทอดเป็นมรดก และเพื่อเป็นการสร้างกุศลต่อมนุษยชาติ

5) ให้องค์กรและหน่วยงานต่างๆ ได้ใช้ที่ดินว่างเปล่าสร้างมูลค่าให้แก่ตัวเองด้วยต้นไม้

6) ใช้ต้นไม้เป็นเครื่องมือในการสร้างระบบนิเวศที่สมดุลในพื้นที่เล็กๆ ของเกษตรกร เพื่อเชื่อมต่อพื้นที่ที่สมดุลในระบบนิเวศจากป่าผืนใหญ่ ด้วยความเชื่อว่าระบบนิเวศ ณ จุดหนึ่งจะส่งผลต่อพื้นที่นั้น

7) เพิ่มพื้นที่ป่าและการสร้างความมั่นคงในแผ่นดิน โดยใช้เงื่อนไขในการรับรองต้นไม้และแผ่นดินที่ประชาชนปลูกต้นไม้ให้เป็นของประชาชน

8) เปลี่ยนฐานการออมเงินสู่ภาคชนบท โดยใช้ต้นไม้เป็นเงินออม ซึ่งเป็นความถนัดและเป็นจุดแข็งของคนชนบทที่เพาะปลูกเก่ง มีที่ดินทํา กินเป็นของตนเองและธรรมชาติ เอื้ออํานวย

9) ปิดจุดอ่อนในการปลูกต้นไม้ของประเทศ เนื่องจากรัฐบาลไทยและคนไทยไม่มีแรงจูงใจในการปลูกต้นไม้และคนไทยไม่รู้สึกถึงการเป็นเจ้าของต้นไม้ เพราะเกิด ความคิด ความเชื่อว่าเป็นของราชการ แนวทางธนาคาร ต้นไม้จึงสร้างการตีค่าต้นไม้ให้เป็นเงิน เป็นแรงจูงใจให้ประชาชนปลูกต้นไม้ และการปลูกในแผ่นดินของตนเองจะทํา ให้เกิดความรู้สึกถึงการเป็นเจ้าของ

การปลูกฝังการออมไปในตัวกับต้นไม้ 4 กลุ่มในอีกมุมหนึ่งของผู้เขียน

กลุ่มที่ 1 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตเร็ว รอบตัดฟันสั้น มูลค่าของเนื้อไม้ต่ำ กลุ่มนี้จะมีมูลค่าต่ำ อาจจะปลูกเพื่อขายเป็นค่าใช้จ่ายในระยะสั้นเป็นการเพิ่มสภาพคล่อง

กลุ่มที่ 2 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้ค่อนข้างสูง ปลูกเพื่อเป็นอาหารลดค่าใช้จ่ายเพิ่มรายได้

กลุ่มที่ 3 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตปานกลาง รอบตัดฟันยาว ปลูกเพื่อเป็นการออมระยะยาวหากเข้าธนาคารต้นไม้ก็จะได้ดอกเบี้ย

กลุ่มที่ 4 ต้นไม้ที่มีอัตราการเติบโตช้า รอบตัดฟันยาว มูลค่าของเนื้อไม้สูงมาก ปลูกเพื่อออมนอกจากจะเข้าโครงการธนาคารต้นไม้และยังสร้างการออม ในระยะยาวเพื่อเป็นมรดกตกทอดให้ลูกหลานสืบไป

ขอบคุณแหล่งสาระความรู้จาก : https://www.lumpsum.in.th/

Author: